วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4

จิตวิทยาการเรียนรู้

การเรียนรู้  เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญและจำเป็นในการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิตไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์เริ่มเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนตาย  สำหรับมนุษย์การเรียนรู้เป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาให้มนุษย์แตกต่างไปจากสัตว์โลก
อื่น ๆ    ดังพระราชนิพนธ์บทความของสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดา ฯ  ที่ว่า  "สิ่งที่ทำให้คนเราแตกต่างจากสัตว์อื่น ๆ ก็เพราะว่า   คนย่อมมีปัญญา  ที่จะนึกคิดและปฏิบัติสิ่งดีมีประโยชน์และถูกต้องได้ .  "  การเรียนรู้ช่วยให้มนุษย์รู้จักวิธีดำเนินชีวิตอย่างเป็นสุข  ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและสภาพการต่างๆ  ได้    ความสามารถในการเรียนรู้ของมนุษย์จะมีอิทธิพลต่อความสำเร็จและความพึงพอใจในชีวิตของมนุษย์ด้วย
ประโยชน์ของจิตวิทยาการศึกษา
ประโยชน์ของจิตวิทยาการศึกษามีดังต่อไปนี้
             1. ช่วยให้ผู้สอนสามารถเข้าใจตนเอง พิจารณา ตรวจสอบตนเอง ทั้งในด้านดีและข้อบกพร่อง รวมทั้งความสนใจ ความต้องการ ความสามารถ ซึ่งจะทำให้สามารถคิด และตัดสินใจกระทำสิ่งต่าง ๆได้อย่างเหมาะสม
             2. ช่วยให้ผู้สอน เข้าใจทฤษฎีวิธีการใหม่ ๆ และสามารถนำความรู้เหล่านั้น มาจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตลอดจนนำเทคนิคการใช้ได้เหมาะสมและเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง เช่นใน การเรียนสิ่งที่เป็นนามธรรมผู้สอนจำเป็นต้องใช้วัสดุอุปกรณ์เพื่อประกอบการสอนเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น
             3.ช่วยให้ผู้สอนเข้าใจธรรมชาติความเจริญเติบโตของผู้เรียนและสามารถจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสม กับธรรมชาติ ความต้องการ ความสนใจ ของผู้เรียนแต่ละวัยได้
             4. ช่วยให้ผู้สอน เข้าใจ และสามารถเตรียมบทเรียน วิธีสอน วิธีจัดกิจกรรมตลอดจนวิธีการวัดผล ประเมินผลการศึกษา ให้สอดคล้องกับความเจริญเติบโตของผู้เรียน ตามหลักการ
             5. ช่วยให้ผู้สอน รู้จักวิธีการศึกษาผู้เรียนเป็นรายบุคคล เพื่อหาทางช่วยเหลือแก้ปัญหา และส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียนให้เป็นไปอย่างดีที่สุด
             6.ช่วยให้ผู้สอนมีสัมพันธ์ภาพที่ดีกับผู้เรียนมีความเข้าใจและสามารถทำงานกับผู้เรียนได้อย่างราบรื่น
             7. ช่วยให้ผู้บริหารการศึกษา ได้วางแผนการศึกษา การจัดหลักสูตร อุปกรณ์การสอน และการบริหารได้อย่างถูกต้อง
             8.ช่วยให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดีรู้จักจิตใจคนอื่นรู้ความต้องการความสนใจและปรับตัวให้เข้ากับลักษณะเหล่านั้นได้ก็จะทำให้เราสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างปกติสุข
ความสำคัญของจิตวิทยาการเรียนการสอน
   ทำให้รู้จักลักษณะนิสัยของผู้เรียน
-  ทำให้เข้าใจพัฒนาการบุคลิกภาพบางอย่างของผู้เรียน
-  ทำให้ครูเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล
-  ทำให้ครูทราบว่ามีองค์ประกอบใดบ้างที่มีผลกระทบต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียนเช่น แรงจูงใจ ความคาดหวัง เชาวน์ปัญญา ทัศนคติ ฯลฯ
-  ทำให้ครูทราบทฤษฎี หลักการเรียนรู้ รวมทั้งหลักการสอนและวิธีการสอน
-  ทำให้ครูวางแผนการสอนได้อย่างเหมาะสม
-  ทำให้ครูจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนได้สอดคล้องกับพัฒนาการ รวมทั้งสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนที่เอื้อต่อการปกครองชั้นเรียน (สุวรี, 2535)
 จิตวิทยาการศึกษา
จิตวิทยาการศึกษาเป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้และพัฒนาการของผู้เรียน ในสภาพการเรียนการสอนหรือในชั้นเรียน เพื่อค้นคิดทฤษฎีและหลักการที่จะนำมาช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษาและส่งเสริมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ
จิตวิทยาการศึกษามีบทบาทสำคัญในการจัดการศึกษา การสร้างหลักสูตรและการเรียนการสอน โดยคำนึงถึงความแตกต่างของบุคคล นักการศึกษาและครูจำเป็นจะต้องมีความรู้พื้นฐานทางจิตวิทยาการศึกษา    เพื่อจะได้เข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนและกระบวนการเรียนรู้ ตลอดจนแก้ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนการสอนเหมือนกับวิศวกรที่จำเป็นจะต้องมีความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์   โดยทั่วไปแล้ว เนื้อหาของจิตวิทยาการศึกษาที่เป็นความรู้พื้นฐานสำหรับครูและนักการศึกษาประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้
ความสำคัญของวัตถุประสงค์ของการศึกษาและบทเรียน นักจิตวิทยาการศึกษาได้เน้นความสำคัญของความแจ่มแจ้งของการระบุวัตถุประสงค์ของการศึกษา บทเรียน ตลอดจนถึงหน่วยการเรียน เพราะวัตถุประสงค์จะเป็นตัวกำหนดการจัดการเรียนการสอน
ทฤษฎีพัฒนาการ และทฤษฎีบุคลิกภาพ เป็นเรื่องที่นักการศึกษาและครูจะต้องมีความรู้      เพราะ จะช่วยให้เข้าใจเอกลักษณ์ของผู้เรียนในวัยต่างๆ โดยเฉพาะวัยอนุบาล วัยเด็ก และวัยรุ่น ซึ่งเป็นวัยที่กำลังศึกษาในโรงเรียน
ความแตกต่างระหว่างบุคคลและกลุ่ม นอกจากมีความเข้าใจพัฒนาการของเด็กวัยต่างๆ แล้ว     นักการศึกษาและครูจะต้องเรียนรู้ถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและกลุ่มทางด้านระดับเชาวน์ปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ เพศ สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งนักจิตวิทยาได้คิดวิธีการวิจัยที่จะช่วยชี้ให้เห็นว่าความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นตัวแปรที่สำคัญในการเลือกวิธีสอน และในการสร้างหลักสูตรที่เหมาะสม
ทฤษฎีการเรียนรู้  นักจิตวิทยาที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้ นอกจากจะสนใจว่าทฤษฎีการเรียนรู้จะช่วยนักเรียนให้เรียนรู้และจดจำอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไรแล้ว ยังสนใจองค์ประกอบเกี่ยวกับตัวของ    ผู้เรียน  เช่น แรงจูงใจว่ามีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้อย่างไร ความรู้เหล่านี้ก็มีความสำคัญต่อการเรียนการสอน
ทฤษฎีการสอนและเทคโนโลยีทางการศึกษา นักจิตวิทยาการศึกษาได้เป็นผู้นำในการบุกเบิกตั้งทฤษฎีการสอน ซึ่งมีความสำคัญและมีประโยชน์เท่าเทียมกับทฤษฎีการเรียนรู้และพัฒนาการในการช่วยนักการศึกษาและครูเกี่ยวกับการเรียนการสอน สำหรับเทคโนโลยีในการสอนที่จะช่วยครูได้มากก็คือ คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน
หลักการสอนและวิธีสอน นักจิตวิทยาการศึกษาได้เสนอหลักการสอนและวิธีการสอนตามทฤษฎีทางจิตวิทยาที่แต่ละท่านยึดถือ เช่น หลักการสอนและวิธีสอนตามทัศนะนักจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม ปัญญานิยม และมานุษยนิยม 
หลักการวัดผลและประเมินผลการศึกษา ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้จะช่วยให้นักการศึกษา และครูทราบว่า การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพหรือไม่ หรือผู้เรียนได้สัมฤทธิผลตามวัตถุประสงค์เฉพาะของ      แต่ละวิชาหรือหน่วยเรียนหรือไม่   เพราะถ้าผู้เรียนมีสัมฤทธิผลสูง ก็จะเป็นผลสะท้อนว่าโปรแกรมการศึกษามีประสิทธิภาพ
การสร้างบรรยากาศของห้องเรียน เพื่อเอื้อการเรียนรู้และช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพของนักเรียน
ความสำคัญของจิตวิทยาการศึกษาต่ออาชีพครู
วิชาจิตวิทยาการศึกษาสามารถช่วยครูได้ในเรื่องต่อไปนี้
ช่วยครูให้รู้จักลักษณะนิสัย (Characteristics) ของนักเรียนที่ครูต้องสอน
ช่วยให้ครูมีความเข้าใจพัฒนาการทางบุคลิกภาพบางประการของนักเรียน
ช่วยครูให้มีความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างบุคคล
ช่วยให้ครูรู้วิธีจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนให้เหมาะสมแก่วัย
ช่วยให้ครูทราบถึงตัวแปรต่าง ๆ
ช่วยครูในการเตรียมการสอนวางแผนการเรียน
ช่วยครูให้ทราบหลักการและทฤษฎีของการเรียนรู้
ช่วยครูให้ทราบถึงหลักการสอนและวิธีกานที่มีประสิทธิภาพ
ช่วยครูให้ทราบว่านักเรียนที่มีผลการเรียนดี ไม่ได้เป็นเพราะระดับเชาวน์ปัญญาอย่างเดียว
๑๐ช่วยครูในการปกครองชั้นและการสร้างบรรยากาศของห้องเรียน 
การจูงใจ (Motivation)   คืออะไร มีผู้ให้คำจำกัดความของการจูงใจไว้ดังนี้
การจูงใจ  คือขบวนการทางจิตใจที่ผลักดันให้บุคคลแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งจนสำเร็จ และถูกต้องตามแนวทางที่ต้องการ
การจูงใจ  หมายถึงแรงซึ่งส่งเสริมให้เด็กทำงานจนบรรลุถึงความสำเร็จ และแรงนี้ย่อมนำทางให้เด็กทำงานไปในแนวที่ถูกต้องด้วย
การจูงใจ  หมายถึงพฤติกรรมที่สนองความต้องการของมนุษย์ และเป็นพฤติกรรมที่นำไปสู่        จุดหมายปลายทาง
แม้ว่านักจิตวิทยาจะใช้คำอธิบายถึงความหมายของการจูงใจไว้ต่างๆ กัน แต่ความหมาย
ก็คล้ายคลึงกัน โดยสรุปแล้ว การจูงใจหมายถึง "พลังแรงที่ทำให้เกิดพฤติกรรมและควบคุมแนวทางของ     พฤติกรรมด้วย"
คำต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจูงใจ มีดังต่อไปนี้คือ
ความต้องการและแรงขับ (Needs and Drives)  ความต้องการ (Needs) เกิดขึ้น เมื่อบุคคลมีอาการ  "ขาด" เช่น ขาดอาหาร ขาดความปลอดภัย ขาดอากาศหายใจ ขาดผู้นับถือ เป็นต้น เมื่อเกิดการขาดก็มีแรงขับ (Drives) เกิดขึ้น แรงขับคือสภาพที่อินทรีย์ได้รับการกระตุ้น ทำให้เกิดการกระทำขึ้น  
แรงขับทุกชนิดมีต้นกำเนิดมาจากกายภาพ หรือแรงกระตุ้นภายใน เพื่อสนองความต้องการที่เกิดขึ้น    แรงขับและความต้องการจึงมีความสัมพันธ์กันแทบจะกล่าวได้ว่า เกิดขึ้นในเวลาเดียวกันก็ได้ นักจิตวิทยาบางท่านจึงมักใช้สองคำนี้ในความหมายอันเดียวกัน
แรงขับ และแรงจูงใจ (Drives and Motives)  "แรงขับ" (Drive)  หมายถึง แรงกระตุ้นให้บุคคลมี   พฤติกรรมเป็นแรงภายในตัวบุคคล ส่วน "แรงจูงใจ" (Motive) คือ สภาพความพร้อมของอินทรีย์ในการปฏิบัติ     กิจกรรมใดๆ หรือเป็นสภาพที่อินทรีย์ถูกกระตุ้น เพื่อไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตั้งไว้ เช่นเมื่อเหนื่อยก็จะเกิดแรงขับให้พักผ่อน หรืออยากนอน เป็นต้น
แรงขับ  หรือแรงจูงใจ  แบ่งออกเป็น ๓ ประการดังนี้
แรงจูงใจทางร่างกาย (Physiological Motives) เกิดจากความต้องการทางร่างกาย มีความหิว ความกระหาย การขับถ่าย การพักผ่อน ตลอดจนความต้องการทางเพศ เด็กแรกเกิดมักจะมีพฤติกรรมที่เนื่องมาจากแรงจูงใจทางร่างกายเป็นส่วนใหญ่
แรงจูงใจทางสังคม (Social Motives)  เป็นแรงจูงใจที่เกิดจากการเรียนรู้ (Learning)  เช่น      ความต้องการชื่อเสียง เกียรติยศ ทรัพย์สิน อำนาจ ความพึงพอใจ การพักผ่อนหย่อนใจ การแสวงหาความ สนุกสนาน
แรงจูงใจส่วนบุคคล (Personal Motives)  เป็นแรงจูงใจที่พัฒนาขึ้นในตัวบุคคล  ซึ่งแต่ละบุคคลจะแตกต่างกันออกไป   แรงจูงใจส่วนบุคคลนี้มีรากฐานมาจากความต้องการทางร่างกายและความต้องการทางสังคมประกอบกัน เช่น จะออกมาในรูปของการสะสมต่างๆ เช่น  การสะสมแสตมป์  การสะสมที่ดิน      การออมทรัพย์ เป็นต้น

ประเภทของการจูงใจ  
นักจิตวิทยาแบ่งการจูงใจเป็น ๒ ประเภทดังนี้
.   การจูงใจภายใน (Intrinsic Motivation)   ได้แก่  ความต้องการ  ความอยากรู้อยากเห็น    ความสนใจ  ตลอดจนการที่มีทัศนคติที่ดีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นแรงจูงใจที่เกิดจากตัวบุคคลโดยตรง
การจูงใจภายนอก (Extrinsic Motivation) ได้แก่ แรงที่เกิดจากเครื่องเร้าภายนอกมากระตุ้น    ทำให้บุคคลเกิดพฤติกรรมต่างๆ ได้ แรงจูงใจดังกล่าวมีดังนี้คือ
      ๒.๑  บุคลิกภาพของครู รูปร่างตลอดจนอารมณ์ และความรู้ของครู ช่วยให้นักเรียนเกิดความประทับใจ และเกิดความสำเร็จในการเรียนได้มาก
      ๒.๒  ความสำเร็จในการทำงาน  เด็กที่ได้รับความรู้และทักษะเพิ่มขึ้นจากการเรียน ก็เป็นแรงจูงใจให้เด็กตั้งใจเรียนดียิ่งขึ้น
      ๒.๓  เครื่องล่อต่าง ๆ  เช่น
   กการให้รางวัล (Reward) รางวัลไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งของเสมอไป   อาจจะเป็นการให้     คำชมเชย ให้สิทธิพิเศษก็ถือเป็นการให้รางวัลทั้งสิ้น การให้รางวัลมีทั้งคุณและโทษ   ประโยชน์ที่ได้จากการ     ให้รางวัลนั้นอาจจะช่วยให้เด็กขยัน และประพฤติดีขึ้น เด็กมีความพยามยาม และเอาใจใส่การเรียนดีขึ้น เป็นต้น ส่วนโทษของการให้รางวัลนั้น อาจจะทำให้เด็กเห็นคุณค่าของรางวัลมากกว่าคุณค่าของการเรียน ทำให้เด็กทำดีเฉพาะตอนได้รางวัล และนอกจากนี้ยังทำให้ครูสิ้นเปลืองมากด้วย
   ขการลงโทษ (Punishment)  เช่นการเฆี่ยนตี การตำหนิ การตัดสิทธิ ตลอดจนการ        กักบริเวณ เป็นต้น การลงโทษก็นับเป็นวิธีที่ช่วยให้เด็กขยันและตั้งใจเรียนดีขึ้น ไม่คิดทำความผิดต่อไป        แต่การลงโทษก็ให้โทษด้วยเช่นเดียวกัน เช่น ทำให้เด็กเกิดอารมณ์ตึงเครียด ทำให้เป็นผลเสียต่อการเรียน  บางคราวอาจทำให้เด็กเกิดพยาบาทครูได้ ถ้าเด็กเห็นว่าการลงโทษของครูไม่ยุติธรรม
   คการแข่งขัน (Competition)  การแข่งขันถ้าเป็นไปในทำนองเป็นมิตร จะเป็นการจูงใจในการเรียนที่ดีอย่างหนึ่ง การแข่งขันที่นักจิตวิทยาสนับสนุน มี ๓ วิธี ดังนี้
การแข่งขันระหว่างนักเรียนทั้งหมด
การแข่งขันระหว่างหมู่ต่อหมู่
การแข่งขันกับตนเอง
การแข่งขันข้อ ๑ และข้อ ๒  ย่อมมีทั้งคุณและโทษ   คุณประโยชน์ที่จะได้นั้น อาจจะทำให้เด็กเกิดความขยันหมั่นเพียรที่จะเอาชนะ และเกิดความภาคภูมิใจเมื่อชนะ ตลอดจนเกิดความสามัคคีกันระหว่างกลุ่ม ส่วนโทษนั้นอาจจะทำให้เกิดความอิจฉาริษยากันในระหว่างนักเรียน ทำให้เกี่ยงงอนกัน คอยจับผิดกัน และอาจจะทำให้แตกความสามัคคีกันได้
การแข่งขันที่นักจิตวิทยาสนับสนุนอย่างยิ่งคือ การแข่งขันกับตนเอง (Self - Competition)  เพราะ ช่วยให้บุคคลประสบความเจริญสูงสุด เท่าที่ความสามารถของบุคคลจะอำนวยให้ ช่วยให้เด็กประสบความก้าวหน้าตามอัตภาพ
ผลที่ได้จากการจูงใจ
ทำให้เกิดพลังงาน หรือเกิดมีพฤติกรรมต่างๆ ขึ้น เช่น การชมเชย ย่อมทำให้เกิดความ
ชื่นบาน มีกำลังใจในการทำงานยิ่งขึ้น
ทำให้เกิดการเลือก  จัดเป็นการกำหนดพฤติกรรมต่างๆ ของบุคคล เช่น การอ่านหนังสือพิมพ์       ผู้ที่สนใจการกีฬา ก็จะอ่านข่าวกีฬา ผู้สนใจการเมือง ก็จะอ่านข่าวการเมืองก่อนข่าวอื่น เป็นต้น การจัด        บทเรียน จึงควรจัดให้ตรงกับความสนใจของเด็กเป็นประการสำคัญ
เป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นให้เด็กเกิดความพร้อมในการเรียน นับเป็นการเร้าให้เด็กเกิดความพร้อมในการเรียนได้เป็นอย่างดี
เป็นการนำเด็กไปสู่จุดหมายปลาย เช่น เด็กวัยรุ่นต้องการความเป็นอิสระ เลี้ยงชีพด้วยตนเอง  เด็กก็จะพยายามเรียนจนสำเร็จ เพื่อจะให้หาเงินเลี้ยงชีพด้วยตนเองได้
แรงจูงใจกับการเรียนการสอน  ในการเรียนการสอนนั้น สิ่งสำคัญที่สุดประการหนึ่งก็คือ ส่งเสริมให้เด็กเกิดมีแรงจูงใจขึ้น   ถ้าสามารถทำได้ควรส่งเสริมให้เด็กเกิดแรงจูงใจภายใน แต่แรงจูงใจภายในนั้นปลูกฝังได้ยาก ครูทั่วไปจึงมักใช้แรงจูงใจภายนอกเข้าช่วย แรงจูงใจภายนอกที่ครูใช้อยู่เป็นประจำ มีดังนี้
รางวัล  การให้รางวัลมีหลายอย่าง  เช่น ให้รางวัลเป็นของ การให้เครื่องหมายอันเป็นสัญลักษณ์แห่งความดี เช่น ให้ดาว หรือให้เกียรติบางอย่าง หรือให้สิทธิพิเศษบางอย่าง   การให้รางวัลนี้ครูแทบทุกคนปฏิบัติกันอยู่ และเมื่อให้รางวัลไปแล้ว เด็กรู้สึกตื่นเต้นและเรียนดีขึ้น แต่นักจิตวิทยาและนักการศึกษาบางท่านไม่เห็นด้วยกับการให้รางวัล โดยกล่าวว่า การให้รางวัลนั้นมีทางทำให้เด็กเรียนเพื่อเอารางวัล มากกว่าเรียนเพื่อให้เกิดความรู้จริง ๆ ถ้าครูให้รางวัลบ่อยเกินไป นอกจากนี้เมื่อเด็กได้รับรางวัลไปแล้ว จะไม่ทำให้เด็กกระตือรือร้นอย่างเดิมอีก
ฉะนั้นในการให้รางวัล ครูไม่ควรให้บ่อยเกินไป หรือเป็นของที่มีราคาแพงเกินไป และควรให้เด็กได้รับรางวัลทั่วถึงกันไม่ใช่จะให้อยู่เพียง ๒ - ๓ คนแรกเท่านั้น
          ความสำเร็จในการเรียน  การที่เด็กได้รับความรู้และทักษะเพิ่มขึ้นจากการเรียน  ก็เป็นแรงจูงใจให้เด็กเรียนดีขึ้นกว่าเดิม 
          อย่างไรก็ดีครูต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วย นั่นคือ ครูต้องจัดการสอนให้สอดคล้องกับระดับความสามารถของเด็กทุกคน เพื่อให้เด็กแต่ละคนได้รับความสำเร็จตามระดับของตน การสอนที่เราทำกันเป็นปกตินั้น ได้แก่การสอนตามแบบกลางๆ ซึ่งไม่พยายามปรับบทเรียนให้เข้ากับเด็กทุกระดับ ซึ่งอาจจะทำให้เด็กที่เรียนเก่ง เบื่อหน่าย เพราะเรื่องที่สอนนั้นง่ายเกินไป คนปานกลางอาจสนุก ส่วนเด็กอ่อนอาจจะเรียนไม่ทัน เพราะครูสอนเร็วเกินไป
          ความสำเร็จที่เด็กได้รับแม้จะเป็นความสำเร็จเล็กๆ น้อยๆ ก็ตาม   แต่ก็ย่อมทำให้เด็กเกิดความเชื่อมั่น  ในตนเอง มีความภูมิใจในตนเองและมีกำลังใจที่จะเรียนมากขึ้น
การยกย่องชมเชย  คำชมที่เหมาะกับโอกาสและเหมาะสมกับการกระทำของนักเรียนย่อมเป็นแรง จูงใจให้แก่เด็กเป็นอย่างดี แต่ถ้าครูชมอย่างไม่จริงใจ และเด็กรู้กันทั่วไปว่า คำชมเชยของครูไม่มีความหมายพิเศษเด็กจะไม่เอาใจใส่ต่อคำชมเชยนั้น ครูไม่ควรใช้คำชมพร่ำเพรื่อ
สำหรับเด็กที่เรียนอ่อนนั้น แม้เรียนดีขึ้นเพียงเล็กน้อย เราก็ควรชมเชย ส่วนเด็กเรียนเก่ง
จะชมก็ต่อเมื่อทำงานยากๆ ได้สำเร็จ คำชมของครูจึงจะมีค่าสำหรับเด็กทุกคน
ในแง่ของจิตวิทยามีผู้พบแล้วว่า การชมเชยเด็กที่เก็บตัวมักได้ผลดีในการจูงใจกว่าการชมเด็กเปิดเผย และการชมเด็กเก่งมากๆ มักได้ผลน้อยกว่าการชมเด็กอ่อน
.  การตำหนิ  ถ้าครูใช้การตำหนิแต่เพียงเล็กน้อยไม่พร่ำเพรื่อเกินไปแล้ว  การตำหนิก็มีผลในการ สร้างแรงจูงในในการเรียนได้มากเหมือนกัน ในการตำหนินั้นครูต้องทำให้เหมาะสมกับความบกพร่อง และตำหนิให้เหมาะกับโอกาส ครูไม่ควรตำหนิเด็กโดยไม่มีหลักฐาน และต้องให้เด็กรู้ว่าตนควรแก้ไขอย่างไร
การตำหนิก็เหมือนกับการชมเชย ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับบุคคล ถ้าครูตำหนิเด็กเรียนอ่อนมากๆ  คำตำหนินั้นจะไม่มีผลในการสร้างแรงจูงใจ ถ้าตำหนิเด็กเรียนเก่งให้ตรงกับข้อบกพร่องของเด็ก คำตำหนิของครูจะมีผลดีมาก แต่เท่าที่เราปฏิบัติกันอยู่นั้นเรามักทำตรงข้ามกับคำกล่าวนี้ คือเราชอบตำหนิเด็กเรียนอ่อนและยกย่องเด็กเรียนเก่ง
เด็กเก็บตัวไม่ชอบให้ครูตี เด็กพวกนี้ยิ่งตียิ่งเสียหายหนักขึ้น แทนที่จะมีผลในการสร้างแรงจูงใจ          คำตำหนิของครู อาจทำให้เด็กประเภทนี้หมดกำลังใจมากขึ้น ส่วนเด็กเปิดเผยไม่เป็นไร
การแข่งขัน  การแข่งขันในการเรียน ถ้าเป็นไปในทำนองเป็นมิตรก็เป็นการจูงใจในการเรียนที่ดี อย่างหนึ่ง ครูควรเปิดโอกาสให้เด็กแข่งขันหลาย ๆ ทาง การแข่งขัน นักจิตวิทยาแบ่งออกเป็น ๓ วิธีคือ
                             แข่งขันระหว่างนักเรียนทั้งหมด
                             แข่งขันระหว่าง หมู่ต่อหมู่
                             แข่งขันกับตนเอง
ความช่วยเหลือ  ความร่วมมือก็นับเป็นแรงจูงใจในการเรียนที่ดีอย่างหนึ่ง ตามปกติเด็กย่อมมีความต้องการฐานะทางสังคม และความต้องการความรักอยู่แล้ว ความร่วมมือเป็นการสนับสนุนให้เด็กสนองความต้องการทั้งสองอย่างนี้ได้เป็นอย่างดี
การรู้จักความก้าวหน้าของตน  ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับความสำเร็จ แต่การที่เด็กจะทราบถึงความก้าวหน้าของคนนั้นต้องอาศัยการบอกกล่าวของครู  ถ้าเด็กทราบความก้าวหน้าของตนอยู่เสมอ เด็กจะมีกำลังใจที่จะเรียนมากขึ้น
การรู้จักวัตถุประสงค์ของการเรียน การทราบวัตถุประสงค์ของการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จะทำให้เด็กเข้าใจแนวการเรียนได้ดีขึ้น และจะทำให้เด็กมีแรงจูงใจมากขึ้น วัตถุประสงค์ที่เด็กควรทราบมีทั้งจุดประสงค์ในระยะใกล้ และจุดประสงค์ในระยะไกล จุดประสงค์ในระยะใกล้ได้แก่ประโยชน์ปัจจุบันของการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ส่วนวัตถุประสงค์ในระยะไกลได้แก่การเรียนในอนาคตของเด็กเอง

การปรับตัว


 


ความหมายของการปรับตัว
วิธีการที่บุคคลหาทางลดความวิตกกังวลให้น้อยลงหรือหมดไปนี้ก็คือการปรับตัว (Adjustment)
สาเหตุของการปรับตัว
คนเราจะปรับตัวเมื่อเกิดความไม่สบายใจ ความวิตกกังวล (Anxiety) ความคับข้องใจ (Frustration) และความเครียด (Tension) ซึ่งอาจจะเกิดจากสิ่งต่อไปนี้
ไม่สามารถตอบสนองความต้องการพื้นฐาน (need) ของตนได้
     ๑.๑  ความต้องการทางด้านร่างกาย  
     ๑.๒  ต้องการความปลอดภัย                 
     ๑.๓  ต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ
     ๑.๔  ต้องการได้รับการยกย่องนับถือ
     ๑.๕  ต้องการผู้ทำสัญญาแห่งตน
          เกิดจากความขัดแย้ง  ความขัดแย้ง หมายถึง การที่บุคคลไม่สามารถจะตัดสินใจเลือกกระทำ    ทั้ง ๒ อย่างได้ ในขณะเดียวกันแต่จะต้องเลือกกระทำเพียงอย่างเดียว กล่าวคือไม่สามารถจะสนองความต้องการของคนได้เด็ดขาดลงไป ความขัดแย้งมี ๓ ลักษณะ
      ๒.๑  เป็นความขัดแย้งที่เกิดจากการที่จะต้องเลือกเพียงอย่างเดียว ในสิ่งที่ตัวชอบเท่าๆ กัน ตั้งแต่ ๒ - ๓ อย่างขึ้นไป จะไม่เลือกก็ไม่ได้ เลือกไปแล้วก็ไม่สบายใจเพราะสิ่งต่างๆ เหล่านั้นเราไม่ชอบเลยแต่เราก็ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
      ๒.๒  เกิดจากการที่ตัวเองต้องเลือกในสิ่งที่ไม่ชอบเลยตั้งแต่ ๒ - ๓ อย่างขึ้นไป จะไม่เลือกก็ไม่ได้ เลือกไปแล้วก็ไม่สบายใจ เพราะสิ่งต่างๆ เหล่านั้นเราไม่ชอบเลย แต่เราก็ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
      ๒.๓  เกิดขึ้นในกรณีที่สิ่งต่างๆ หรือบุคคลหรือสัตว์ ที่เราต้องเลือกนั้นมีทั้งถูกใจและไม่ถูกใจเราในระดับที่เท่าๆ กันทั้งหมดตั้งแต่ ๒ อย่างขึ้นไป แต่เราก็ต้องเลือกเพียงอย่างเดียว
กลวิธานในการปรับตัวมีลักษณะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
อ้างเหตุผลเข้าข้างตนเอง (Rationalization)  เป็นการอ้างเหตุผลที่คิดว่าคนอื่นย่อมรับ เพื่อรักษาศักดิ์ศรีของตนเอง หรือเพื่อให้ตัวเขาสบายใจขึ้น อาจแสดงออกในรูปขององุ่นเปรี้ยวหรือมะนาวหวาน
องุ่นเปรี้ยว  เป็นวิธีการที่ทำให้ตนเองหรือคนอื่นเข้าใจว่าสิ่งที่ตนอยากได้ แล้วไม่ได้นั้น ไม่ดี เช่น อยากมีรถเก๋งขี่ แต่ไม่มีก็ปลอบใจตนเองว่าไม่มีดีแล้ว มีแล้วรอจ่ายเพิ่ม หรือเสียค่าดูแลรักษามากขึ้น
มะนาวหวาน  ตรงกันข้ามกับองุ่นเปรี้ยว คือการที่บุคคลพยายาามทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าสิ่งที่เราได้นั้นดีเลิศอยู่แล้ว ทั้งๆ ที่ความจริงตัวอาจจะไม่ต้องการมาก่อน เช่น สอบเข้าครูได้ ก็บอกใครๆ ว่าครูนี้สอบเข้ายากนะ เป็นแล้วรู้จักคนมาก สังคมยกย่องด้วย เป็นต้น
การปรับตัวแบบหาสิ่งอื่นมาทดแทน (Substitution)  เป็นการหาสิ่งอื่นมาชดเชยสิ่งที่ตัวเองขาด   ซึ่งมี ๒ ลักษณะได้แก่
      ๒.๑  การชดเชย  (Compensation)  เมื่อขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ไปหาสิ่งอื่นมาชดเชยเป็นการเปลี่ยนความต้องการหรือเป้าหมายใหม่ เช่น เด็กที่ไม่สวย อาจขยันเรียนเป็นเด็กดีของโรงเรียน เด็กที่เรียนอ่อนอาจจะหันไปฝึกซ้อมด้านกีฬา หรือด้านศิลป์ หรือคนร่างเตี้ยอยากสูง มีวิธีการชดเชยโดยวางท่าใหญ่หรือเสียงดังฟังชัด หรือพูดจาโอ้อวด
      ๒.๒  การทดแทน (Displacement)  วิธีนี้ไม่เปลี่ยนเป้าหมายแต่พยายามหาสิ่งทดแทนอย่างอื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกับความต้องการเดิมและสิ่งใหม่นี้ตัวเองพอจะหาทางตอบสนองได้ เช่น
คนก้าวร้าว  อยากทำร้ายตบตีชกต่อยคนอื่น แต่สังคมไม่ยอมรับก็พยายามหาสิ่งทดแทนที่สังคมยอมรับ เช่น เป็นนักมวย จัดชกมวย เป็นทหาร ตำรวจ   เป็นต้น   หรือคนอกหัก ก็หาทางระบายด้วยการเขียนนิยายรักรันทดใจ เป็นต้น
การปรับตัวแบบโทษผู้อื่นหรือการโยนบาป (Projection)   เป็นการอ้างความผิดของคนอื่นขึ้นมา ลบความผิดของตน เช่น ฉันไม่ได้ ๒ ขั้น เพราะถูกเจ้านายกลั่นแกล้ง หรือเราลอกข้อเดียว แต่คนอื่นลอกการบ้านทุกข้อเลย เป็นต้น
การนับตนเป็นพวกเดียวกับปัญหา (Identification)   เป็นทำนองว่าถ้าเอาชนะใครไม่ได้ก็ยอมเป็นพวกเขาแต่โดยดี เช่น
     ๔.๑  เห็นเขาเก่งกว่าเรา มีความสามารถมากกว่าเราหรือดีกว่าเรา เราอยากเป็นอย่างนั้นบ้าง แต่เป็นไปไม่ได้ จึงใช้วิธีทำตนเป็นพวกเดียวกับเขา  เช่น  การเอาอย่างบุคคลที่เด่นๆ ในสังคม ในเรื่องกิริยาท่าทาง การแต่งตัวหรือรสนิยม เป็นต้น
               .๒  การนับตนเป็นพวกเดียวกับใคร เพื่อให้ได้มาซึ่งความรัก เช่น เด็กอยากให้พ่อแม่รักก็ทำตามอย่างพ่อแม่ ทำตามที่พ่อแม่สอน เป็นต้น
               .๓  การนับตนเป็นพวกเดียวกับผู้ที่เราเห็นว่าถูกกดขี่ข่มเหง เช่น ประกาศตนเป็นพวกเดียวกับ ชนหมู่น้อยที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือเข้าข้างผู้แพ้ เพราะตนมีความรู้สึกท้าทายอำนาจอยู่แล้ว
               .๔  การนับตนเองเป็นพวกเดียวกับใครที่เหมือนเรา ซึ่งมีอยู่ทั่วไป เช่น ชายหญิงที่มีฐานะเสมอกัน มีความสนใจและรู้รสนิยมคล้ายกัน ได้มาพบกันเข้าก็รักกัน แต่งงานกัน เป็นต้น
(ข้อ ๔.๔ นี้อาจจะไม่เกี่ยวข้องกับความวิตกกังวล)
ความก้าวร้าว (Aggression)  เป็นการลดความคับข้องใจโดยให้ผู้อื่นได้รับความกระทบกระเทือน ซึ่งส่วนใหญ่จะเนื่องมาจากความโกรธ เช่น
               .๑  การก้าวร้าวโดยตรง (Direct Aggression) เป็นการแสดงความก้าวร้าวต่อสิ่งของหรือบุคคลที่ทำให้โกรธหรือคับข้องใจ เช่น การเตะต่อยหรือใช้วาจาพูดให้สะเทือนใจ หรือการฟัน แทง หรือยิงกันจนบาดเจ็บหรือตาย
               .๒  การก้าวร้าวทางอ้อม (Displaced Aggression) เช่น โกรธครูแล้วตวาดเพื่อน    ไม่พอใจแฟนก็ทุบข้าวของแตกหักเสียหาย โกรธเพื่อนบ้านแล้วลักของ หรือทะเลาะกันแล้วจุดไฟเผาบ้านเป็นต้น
การเปลี่ยนหน้ามือเป็นหลังมือ (Reaction Formation) เป็นการปรับตัวแบบหน้าไหว้หลังหลอกโดยที่เจ้าตัวไม่รู้สึก เช่น แม่ที่ปกป้องลูกขนาดหนัก จนลูกช่วยตัวเองไม่เป็นตลอดชีวิต  หารู้ไม่ว่าส่วนลึกนั้นชิงชังลูกอย่างเหลือเกิน การตามใจลูกเป็นการแสดงหน้าฉากเท่านั้น
การเก็บกด (Repression)  เป็นการปรับตัวโดยการทำเป็นลืม ทำไม่สนใจ ไม่คิด ไม่กังวล พยายามปัดออกไปจากจิตรู้สำนึก โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่ทำให้เราเดือดร้อน มีความทุกข์ ความละอายหรือความเจ็บปวดหรือเจ็บแน่นแสนสาหัส นานๆ เข้าอาจจะลืมได้  วิธีการแบบนี้บุคคลไม่ได้ระบายความวิตกกังวลเลย ความวิตกกังวลหรือความไม่สบายใจจึงมีอยู่ตลอดเวลา นานๆ เข้าจะทำให้เป็นคนเจ้าทุกข์ เจ้าคิด เจ้าแค้น ไม่มีเวลาสำหรับความรื่นรมย์ใด ๆ ในชีวิตเลย
การปรับตัวแบบถอยกลับ (Regression) เป็นวิธีการที่บุคคลถอยกลับไปใช้ วิธีการแบบเด็กๆ อีก เพื่อเรียกร้องความสนใจ เช่น การดูดนิ้ว (ในเด็กอายุเกิน ๒ ขวบ) หรือการปัสสาวะรดที่นอน (ในเด็กอายุเกิน ๔ - ๕ ขวบ) หรือผู้ใหญ่ที่ทำตนเป็นวัยรุ่น เป็นต้น
การติดชะงัก (Fixation)  ปกติคนเราย่อมมีการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพตามขั้นตอนวัยแตกต่างกันออกไป และคนเราย่อมจะก้าวจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่งเรื่อยๆ  ไปจนกว่าจะบรรลุความเป็นผู้ใหญ่เต็มตัว     แต่บางคนอายุมากแล้ว แต่ยังติดชะงักอยู่ในวัยเด็กอยู่นั่นเอง เป็นเพราะว่าเขาเกิดความกลัวว่าขั้นต่อไปจะเต็มไปด้วยความลำบากยากแค้น พวกนี้จึงเป็นพวกเลี้ยงไม่รู้จักโต หรือพวกที่เจ้าระเบียบแบบกระดิกตัวไม่ได้ หรือพวกที่ยึดมั่นอยู่กับสิ่งเดียวตลอดชาติ ก็เป็นพวกติดชะงัก เช่นเดียวกัน
๑๐.  การสร้างจุดเด่นให้แก่ตนเอง (Geocentricism) เกิดแก่บุคคลที่เรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น  โดยการคุยโอ้อวดความมั่งมี  คุยอวดความเก่งกล้าสามารถ   หรือแต่งตัวผิดแปลกไปจากคนอื่นหรือพูดจาไม่เหมือนคนอื่น เป็นต้น
๑๑การปรับตัวแบบต่อต้านหรือปฏิเสธตลอดเวลา (Negativism) เป็นการเรียกร้องความสนใจ และเป็นการแก้แค้นวิธีหนึ่ง เช่น การชอบทำอะไรในสิ่งที่คนอื่นไม่อยากให้ทำ หรือเขาบอกไม่ให้ทำเราจะทำหรือเราจะทำแต่พอเขาบอกให้ทำ กลับไม่ทำเลย
๑๒การปรับตัวแบบเพ้อฝันหรือฝันกลางวัน (Fantasy or Day dreaming)  เป็นการลดความคับข้องใจโดยหนีไปสร้างความสุขโดยการฝันเฟื่อง หรือเหม่อลอยชั่วขณะ ซึ่งจะทำให้เกิดความสุขชั่วครั้งชั่วคราว
๑๓การปรับตัวแบบหลบหนี (Withdrawal)  เป็นการหลบเลี่ยงการเผชิญหน้ากับปัญหาหรือคนอื่นๆ ชั่วขณะ อาจจะเก็บตัวหรืออาจจะเจ็บป่วยทางร่างกายโดยหาสาเหตุทางกายไม่พบก็ได้ หรืออาจจะหันเขาหาสุรา กัญชาหรือยาเสพติดประเภทต่างๆ ได้

สุขภาพจิต
 


สุขภาพจิต  หมายถึงคุณลักษณะทางจิตใจของบุคคลที่จะปรับตัวให้มีความสุขอยู่กับสังคมได้ดี       พอสมควรและสามารถจะสนองความต้องการของตนเองในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและ         สิ่งแวดล้อมอื่นโดยไม่มีข้อขัดแย้งภายในจิตใจมากนัก
คนที่สุขภาพจิตดี จะสามารถตอบสนองความต้องการของตนเองได้ในระดับที่เหมาะสม สามารถลดความวิตกกังวลอันเนื่องมาจากการแก้ปัญหาหรือเนื่องมาจากความขัดแย้งด้วยวิธีการที่สมเหตุสมผลและไม่ใช้  กลวิธานป้องกันตนเองอย่างใดอย่างหนึ่งนานๆ หรือรุนแรงจนเกินไป
ลักษณะของผู้ที่มีสุขภาพจิตดี
ผู้ที่มีสุขภาพจิตดีนั้นจะต้องมีลักษณะดังนี้
เป็นผู้ที่รู้จักและเข้าใจตนเองอย่างดี ซึ่งจะแสดงออกในรูปของ
ยอมรับความผิดหวังได้อย่างกล้าหาญ
ใจกว้างพอที่จะยอมรับและเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่น
ประมาณความสามารถของตนเองได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริง
ยอมรับสภาพความขาดแคลนหรือขีดจำกัดบางอย่างของตนได้ และยอมรับนับถือตนเอง
สามารถจัดการกับสภาพการณ์หรือเหตุการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตนได้
พอใจและชื่นชมยินดีต่อความสุขหรือความสำเร็จของตนที่เกิดในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเล็กน้อยก็ตาม
เป็นผู้ที่รู้จักเข้าใจผู้อื่นได้ดี ซึ่งแสดงออกในรูปของ
ให้ความสนใจและรักคนอื่นเป็นและยอมรับความสนใจและความรักใคร่ที่คนอื่นมีต่อตน
เข้าใจและยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล
          -  เป็นได้ทั้งผู้นำและผู้ตามที่ดี
เป็นส่วนหนึ่งของหมู่คณะ
มีความรับผิดชอบต่อหมู่คณะหรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวโยง
เป็นผู้ที่สามารถเผชิญกับความจริงในชีวิตได้เป็นอย่างดี เช่น
แก้ปัญหาและเผชิญกับอุปสรรคได้ด้วยตัวเอง โดยไม่หวาดกลัวมากนัก
มีการวางแผนล่วงหน้าในการกระทำงานหรือการปฏิบัติงานต่าง ๆ
-  ตั้งจุดมุ่งหมายของชีวิตไว้สอดคล้องกับความจริง
ตัดสินใจในปัญหาต่างๆ ได้อย่างฉลาด ฉับพลัน ปกติปราศจากการลังเลหรือเสียใจ
ภายหลัง
สามารถใช้พลังงานที่มีอยู่ได้อย่างเต็มที่และเกิดประโยชน์มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ไม่ใช้กลวิธานป้องกันตนเอง แบบใดแบบหนึ่งมากเกิน แต่จะยอมรับความจริงที่เกิดขึ้นและพยายามหาวิธีลดความวิตกกังวลลงด้วยวิธีการที่สมเหตุสมผล
เป็นผู้มีอารมณ์ขันบ้าง พยายามมองโลกในแง่ดีด้วยการพิจารณาข้อดีของเหตุการต่างๆ หรือการกระทำต่างๆ ของเรา เพราะเหตุการณ์หรือการกระทำบางอย่างนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย และการใช้อารมณ์ขันช่วยขัดจังหวะหรือช่วยแก้ไขเหตุการณ์ที่ตึงเครียด จะทำให้มองโลกน่ารื่นรมย์ขึ้น
บุคคลที่มีสุขภาพจิตใจไม่ดี
บุคคลที่มีสุขภาพจิตไม่ดี จะเป็นคนที่มีลักษณะตรงกันข้ามกับที่กล่าวมาแล้ว และเมื่อเกิดปัญหาหรือมีความวิตกกังวลมากๆ จะหาทางลดความวิตกกังวลด้วยวิธีการที่ไม่สมเหตุสมผล และจะใช้กลวิธานป้องกันตนเองอยู่ตลอดเวลา และจะทำให้พฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากปกติธรรมดา พฤติกรรมที่เบี่ยงเบนไปจากปกติธรรมดานี้อาจเรียกได้ว่าเป็นพฤติกรรมที่ผิดปกติ โดยเริ่มจากดีกรีน้อยไปจนถึงดีกรีมากตามลำดับดังนี้
                   พฤติกรรมแปรปรวน (Behavior disorder)
                   บุคลิกภาพแปรปรวน (Personality disorder)
                   .  Psychosomatic disorder
                   โรคประสาท (Neurosis)
                   โรคจิต (Psychosis)

ปัญหาที่ก่อให้เกิดสุขภาพจิตเสีย มีดังนี้
                   ปัญหาที่เกิดจากตัวเด็ก ได้แก่
                             ลักษณะทางอารมณ์
                             ลักษณะประจำตัว
                             ความเหนื่อยล้าและปัญหาอื่น
                   ปัญหาที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม ได้แก่
                             บ้าน
                             โรงเรียน
                             สื่อมวลชน
                      ปัญหาที่เกิดจากตัวเด็ก ได้แก่
ลักษณะทางอารมณ์  อารมณ์เป็นทั้งสัญชาติญาณ และประสบการณ์ของมนุษย์ คนเรามีอารมณ์อยู่เสมออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อารมณ์เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่มีผลต่อสุขภาพจิตเป็นอันมาก คนที่มี สุขภาพจิตดีมักจะควบคุมอารมณ์ได้ดี คนที่สุขภาพจิตไม่ดีมักจะมีอารมณ์ไม่แน่นอนควบคุมตนเองไม่ได้รวมความว่าอารมณ์มีความสำคัญต่อสุขภาพจิตมาก อารมณ์บางอย่างมักจะส่งผลกระทบกระเทือนต่อสุขภาพจิต เช่น
     ๑ความกลัว  ความกลัวนี้มีต่างๆ กัน เช่น กลัวความมืด กลัวความแออัด กลัวที่สูง  ความจริงความกลัวนับว่ามีประโยชน์ในด้านที่ช่วยทำให้บุคคลหนีห่างจากภัยอันตราย แต่ความกลัวที่มีมากจนเกินไปในสิ่งที่ไม่ควรกลัว หรือกลัวโดยไม่มีเหตุผลล้วนทำให้เสียสุขภาพจิต
     ๒ความวิตกกังวล  มีลักษณะคล้าย ๆ กับความกลัว มักเป็นอารมณ์ที่เกิดอยู่นานๆ และส่วนใหญ่เป็นการวิตกกังวลที่ไม่มีเหตุผลเพียงพอ ถ้าวิตกกังวลมากๆ และนานๆ ก็ทำให้สุขภาพจิตเสียได้
     ๓ความโกรธ  บางคนโกรธอย่างรุนแรงเกินขอบเขต และมักแสดงออกอย่างรุนแรง เช่น   ในยามที่บันดาลโทสะ ถ้าปล่อยให้เกิดขึ้นบ่อยๆ ก็นับว่าเป็นอันตรายและทำให้สุขภาพจิตเสื่อมลงได้มาก แต่การสกัดกั้นความโกรธเอาไว้ทั้งหมดโดยไม่แสดงออกมาเลย ถ้าทำเสมอๆ ก็เป็นผลร้ายแก่สุขภาพจิตได้เช่นกันอารมณ์อย่างอื่นๆ เช่นความเกลียด ความริษยา ความพยาบาท ความเศร้า ฯลฯ เหล่านี้กระทบกระเทือนต่อสุขภาพจิตเช่นกัน
ลักษณะประจำตัวที่อาจทำให้สุขภาพจิตบกพร่อง  ได้แก่
    สติปัญญาต่ำหรือสูงเกินไป  จากการวิจัยปรากฎว่าคนสติปัญญาต่ำมักปรับตัวได้น้อยกว่าคนที่มีสติปัญญาสูง แต่ในทางตรงกันข้าม คนที่สติปัญญาสูงมากเกินไปก็มีปัญหาในการปรับตัวเช่นกัน  เพราะเด็กฉลาดอาจอยู่ในสังคมของคนธรรมดาได้ยาก อาจเบื่อหน่ายภาวะแวดล้อมเช่นนั้น บางทีก็พบความ  บกพร่องจนทนไม่ไหว ความรู้สึกเช่นนี้ทำให้เขาปรับตัวได้ยาก
    ความบกพร่องทางร่างกาย  เด็กที่อ้วนเกินไป ผอมเกินไป สูงเกินไปหรือเตี้ยเกินไป อาจได้รับความลำบากใจในการปรับตัว มักถูกเพื่อนฝูงรังแกหรือล้อเลียนเอา ครูจึงต้องเอาใจใส่คอยประคับประคองเด็กพวกนี้ไว้เสมอ
    ความพิการ  เด็กพวกนี้ก็เช่นกันมักจะถูกเพื่อนฝูงล้อเลียนต่างๆ นานาจนเจ้าตัวอาจ  รู้สึกว่าจนเองมีปมด้อย ครูที่เคยสอนมานานๆ มักจะทราบดีว่าเด็กพวกนี้มักจะไม่ค่อนมีเพื่อนสนิท บางคนหลีกห่างจากเพื่อนฝูง และบางคนก็มีอารมณ์ฉุนเฉียวง่าย อันเป็นลักษณะที่แสดงว่าปรับตัวไม่ได้ ครูควรจะคอยช่วยเหลือชี้แจงเหตุผลที่ดีที่ควรให้เด็กพวกนี้พยายามแสดงความสามารถและหาทางที่จะเข้ากับเพื่อนๆ ให้ได้
    ความรู้สึกเกี่ยวกับฐานะของเด็ก  กล่าวโดยทั่วไปเด็กที่มาจากครอบครัวฐานะดีมักจะมีความรู้สึกมั่นคงในจิตใจ วางตัวได้ดีไม่เคอะเขินในการสมาคม   ส่วนเด็กจากครอบครัวยากจนอาจขาดแคลน บางอย่าง หรือหลายอย่างทำให้ขาดความมั่นคงทางอารมณ์ มีความน้อยเนื้อต่ำใจและปรับตัวให้เข้ากับสังคม ในโรงเรียนได้ยาก ครูควรพยายามช่วยด้วยการชี้แจงแสดงให้เห็นว่าฐานะในทางเศรษฐกิจนั้นไม่สู้สำคัญอะไรนัก แต่คุณภาพของตัวบุคคลนั้นต่างหากที่มีความสำคัญและเป็นที่ยกย่องของสังคม
ความเหนื่อยล้าและปัญหาอื่น ๆ
    ความเหนื่อยล้า (Fatigue)   ความเหนื่อยล้าอย่างธรรมดา คือ ความเหนื่อยล้าทาง ร่างกาย  อาจแก้ได้ด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ แต่ความเหนื่อยล้าทางจิตที่เกิดจากความกดดันทางอารมณ์  ความเบื่อหน่าย ความไม่สนใจ หรือบางทีก็เกิดขึ้นมาอย่างไม่มีเหตุผลเหล่านี้ อาจทำให้คนเราเสียสุขภาพจิตได้
    .  การขาดความรู้ในการแก้ปัญหา  เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นแต่เด็กไม่สามารถจะแก้ได้ เพราะขาดความรู้ความสามารถ ปัญหานั้นก็จะตกค้างทำให้เด็กเกิดความตึงเครียดทางอารมณ์เพราะจนปัญญา เด็กอาจท้อถอยเกิดความทรมานใจ ทำให้สุขภาพจิตเสียได้ ครูต้องคอยสังเกตและช่วยเหลืออย่าให้เกิดมีกรณี เช่นนี้ขึ้น
    ความสามารถในการแก้ปัญหาของแต่ละบุคคล เด็กแต่ละคนมีความสามารถในการ แก้ปัญหาต่างกัน และมีความอดทนต่อปัญหาต่างๆ กัน บางคนทนได้มาก บางคนทนได้น้อยและในปัญหาชนิดเดียวกัน บางคนก็เห็นเป็นเรื่องธรรมดา แต่บางคนเห็นเป็นเรื่องร้ายแรงจนยากที่จะแก้ไข เด็กประเภทหลังนี้จึงมีโอกาสสุขภาพจิตเสียได้ง่าย ครูจึงต้องคอยสังเกตให้ความช่วยเหลือและช่วยปลุกปลอบใจด้วย
          ปัญหาจากสิ่งแวดล้อม ได้แก่
     ๒.๑  สิ่งแวดล้อมทางบ้าน บ้านและความเป็นอยู่ ภายในบ้านที่ดีย่อมช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตของเด็กได้มาก เด็กที่ได้รับความรัก ได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี ย่อมมีความอดทนต่อปัญหาต่างๆ ได้ดี บ้านที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ อาจทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพจิตได้มาก
บ้านแตก (Broken Home)  ได้แก่บ้านที่ขาดพ่อ - แม่ หรือขาดผู้ปกครองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยเฉพาะเด็กทารกที่ขาดแม่ อาจเกิดเป็นโรคขาดแม่ และมีอาการถึงตายได้อย่างน่าสมเพช หรือบ้านที่พ่อแม่ชอบมีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกันอย่างรุนแรง บ้านเช่นนี้ก่อให้เกิดความตึงเครียดทางอารมณ์แก่เด็กได้มาก
บ้านที่ปล่อยปละละเลยลูก บ้านบางแห่งมักไม่สนใจลูกเท่าที่ควร โดยเฉพาะในการดูแล อบรมสั่งสอน
บ้านที่ผู้ปกครองเข้มงวดเกินไป เด็กที่อยู่ในบ้านชนิดนี้จะรู้สึกอึดอัดมีความกดดัน      ทางอารมณ์ รู้สึกว่าตนถูกกดขี่ จนทำให้เกิดปัญหา
บ้านที่คุ้มครองเด็กมากเกินไป พ่อแม่บางคนรักและหวังดีต่อลูกจนเกินควร จึงพยายาม  หาทุกสิ่งทุกอย่างให้ลูก บางทีก็กลัวว่าลูกจะเป็นอันตราย หรือได้รับความลำบากจึงคอยคุ้มคาองป้องกันภัยให้ลูกทุกขณะ  ทำให้เด็กขาดความสามารถและยุ่งยากในการปรับตัว เพราะไม่ได้ฝึกฝนการแก้ปัญหาด้วยตนเอง ทำให้เกิดความลำบากที่จะเข้ากับสังคมในอนาคต
ภาวะแวดล้อมที่ไม่ผาสุขในบ้าน  ในครอบครัวที่ฐานะยากจนมากๆ เด็กเติบโตมาด้วยความยากลำบาก ไม่ได้รับการสนองความต้องการขั้นพื้นฐานเต็มที่สักครั้งเดียว พ่อแม่ทะเลาะกันเพราะการ     ทำมาหากินไม่พอเลี้ยงครอบครัว พ่อแม่ติดสุราเล่นการพนัน
     ๒.๒  สิ่งแวดล้อมทางโรงเรียน  โรงเรียนอาจมีส่วนทำให้เด็กเสียงสุขภาพจิตได้เนื่องจากสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
ข้อบังคับและระเบียบที่เข้มงวดและหยุมหยิมจนเกินไป   สิ่งเหล่านี้อาจทำให้เด็กเกิดความรู้สึกกดดันทางอารมณ์  เพราะมีความลำบากใจ ที่จะต้องปฏิบัติในสิ่งที่ฝืนธรรมชาติของเด็กจนเกินไป ผู้บริหารงานในโรงเรียน จึงควรพิจารณาแก้ไขปรับปรุงระเบียบข้อบังคับแต่พอเหมาะพอควร อย่าให้หยุมหยิมจนเกินไป จนเด็กเกิดความรู้สึกยากลำบากใจที่จะปฏิบัติตาม
การปกครองโดยอาศัยอำนาจเด็ดขาดของครู ไม่ว่าจะเป็นครูใหญ่หรือครูน้อย วิธีปกครองโดยให้เด็กต้องฟังคำบัญชาของครูแต่ฝ่ายเดียวนั้นทำให้เด็กรู้สึกขาดความอิสระ และเด็กบางคนก็จะปรับตัวได้ยากเหมือนกัน
ความหละหลวมของโรงเรียน  หมายถึงโรงเรียนที่ปกครองอย่างไม่มีระเบียบแบบแผนที่ดี สภาพเช่นนี้จะไม่ช่วยให้เด็กเกิดสุขภาพจิตที่ดี ตรงกันข้ามเด็กส่วนใหญ่จะปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมเช่นนี้ได้ยาก
การแข่งขัน เด็กที่เข้าเรียนในโรงเรียนจะต้องแข่งขันกับเพื่อนนักเรียนด้วยกันหลายอย่าง นับตั้งแต่แข่งขันในการเรียนจนกระทั่งถึงการแข่งขันกีฬาและความประพฤติ ถ้าเด็กต้องแข่งขันกันมากๆ เด็กบางคนอาจเกิดความตึงเครียดจากอารมณ์มาก จนปรับตัวได้ยาก
.  การสอบไล่และการทดสอบ  เด็กส่วนใหญ่มักได้รับความกดดันทางอารมณ์จากการสอบไล่และการทดสอบอยู่ไม่น้อย ความกดดันทางอารมณ์ดังกล่าวนี้อาจทำให้เด็กเสียสุขภาพจิตได้มาก แต่โดยเหตุที่ การสอบไล่ยังมีประโยชน์ในทางการศึกษาอยู่มาก เราจึงจำเป็นต้องมีการสอบไล่อยู่ต่อไปจนกว่าจะมีความคิดหา วิธีการอย่างอื่นมาใช้แทนได้
สิ่งแวดล้อมในโรงเรียนดังกล่าวมานี้ บางโรงเรียนก็มีข้อบกพร่องมาก บางโรงเรียนก็มีข้อบกพร่องน้อย ความจริงสิ่งแวดล้อมดังกล่าวนี้ก็หาใช่จะเป็นเครื่องบั่นทอนสุขภาพจิตของเด็กทั้งหมดไม่   เพราะเด็กส่วนใหญ่  ก็ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างราบรื่น ถึงอย่างไรก็ดีครูก็ควรคำนึงถึง
อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมดังกล่าว  และพยายามหาทางช่วยเหลือเด็กที่ยังเป็นปัญหาให้สามารถปรับตัวได้ราบรื่นตามสมควร
     ๒.๓  สื่อมวลชน  สื่อมวลชนได้แก่หนังสือพิมพ์รายวัน รายสัปดาห์ วารสาร หนังสืออ่านเล่น ดนตรี ภาพยนต์ ละคร วิทยุ โทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ต่างๆ ฯลฯ สื่อมวลชนที่มีอยู่ในสังคมนี้  เป็นตัวอย่างที่ดีและไม่ดีแก่เด็ก ถ้าสร้างตัวอย่างที่ไม่ดีให้แก่เด็ก หรือมีลักษณะที่ทำให้เกิดความตึงเครียด หรือกดดันทางอารมณ์ขึ้นในตัวเด็ก ก็อาจทำให้เด็กสุขภาพจิตเสียได้ ทางที่ดี จึงต้องมีการควบคุม เลือกเฟ้นให้เด็กได้ฟัง ได้ดูได้อ่าน แต่สิ่งที่เหมาะแก่อารมณ์และวัยของเด็กเท่านั้น
ข้อควรคิดสำหรับครูเกี่ยวกับสุขภาพจิต
การที่ครูจะทำหน้าที่ส่งเสริมสุขภาพจิตของเด็กได้ดีนั้น ตัวครูเองจะต้องมีสุขภาพจิตดีด้วย มิฉะนั้นก็คงจะส่งเสริมเด็กได้ยาก ครูจึงควรสำรวจตัวเองอยู่เสมอว่าสุขภาพจิตของตนยังดีอยู่หรือไม่  ครูที่มีความบกพร่องทางสุขภาพจิตจะมีลักษณะดังนี้
รู้สึกไม่พอใจเกี่ยวกับตัวเองอยู่เสมอ ทำอะไรเป็นทุกข์เป็นร้อน มีอารมณ์ฉุนเฉียวง่าย
ไม่พอใจในหน้าที่ของตน เช่น เห็นว่างานของครู จุกจิกเบื่อการพร่ำสอนเด็ก เห็นเด็กมีพฤติกรรม น่าเวียนหัว เบื่อการตรวจการบ้าน เห็นการบ้านของเด็กแล้วมีความระอา
ไม่พอใจในสังคม มักจะคิดว่าครูคนอื่นไม่เป็นมิตรกับตน ผู้ปกครองเด็กไม่เคารพนับถือตน        ตนเข้ากับใครไม่ได้ มีความคับข้องใจอยู่ตลอดเวลา ทำให้ตัวเองไม่มีความสุข


ทัศนคติและความสนใจใจ
 

ความหมายของทัศนคติ
                   ทัศนคติ (Attitude)   หมายถึงความรู้สึกและท่าทีของคนเราที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นความรู้สึกในทางชอบ ไม่ชอบและมีผลทำให้บุคคลพร้อมที่จะตอบสนองต่อสิ่งนั้นตามความรู้สึกดังกล่าว
องค์ประกอบทัศนคติ
จากความหมายของทัศนคติที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า ทัศนคติประกอบไปด้วย
องค์ประกอบทางด้านความคิด (Cognitive Component) ซึ่งเป็นผลมาจากการรับรู้ของบุคคล  ต่อสิ่งของ บุคคลหรือเหตุการณ์ต่างๆ ถ้าเกิดความรู้ความเข้าใจอย่างดีอย่างแท้จริงและเกิดทัศนคติในทางที่ดี ในทางตรงกันข้าม ถ้าเกิดการรับรู้ในทางที่ไม่เข้าใจ ไม่รู้เรื่อง ยากไป ก็จะมีทัศนคติไม่ดีต่อสิ่งนั้น  
องค์ประกอบทางด้านความรู้สึก  (Affective Component) เป็นสภาพทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นในขณะที่บุคคลถูกเร้าจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งถ้าเราชอบ สบายใจ สนุก ก็จะเกิดทัศนคติที่ดีแต่ถ้าไม่ชอบ ไม่สนุก ถูกดูหมิ่น  ถูกเยาะเย้ย ก็จะมีทัศนคติในทางที่ไม่ดี
องค์ประกอบทางด้านแนวโน้มของการกระทำ (Action Tendency Component)  เป็นทิศทางของการตอบสนองหรือการกระทำในทางใดทางหนึ่งซึ่ง เป็นผลมาจากองค์ประกอบด้านความคิดและความรู้สึก ของบุคคลต่อสิ่งเร้า ถ้ารู้ว่าดี เรียนแล้วเข้าใจ เรียนแล้วสนุก มีแนวโน้มจะเข้าเรียนตลอดเวลา สนับสนุน ส่งเสริม เป็นพวกด้วยหรือร่วมกิจกรรมด้วย ในทางตรงกันข้ามถ้าเรียนแล้วไม่เข้าใจ ยาก ไม่สนุก  ถูกดุว่า ถูกดูหมิ่น เพื่อนหัวเราะเยาะก็มีแนวโน้มจะไม่อยากเข้าเรียน คอยหลบหน้า คอยต่อต้านขัดขืนและไม่ร่วมกิจกรรมด้วย
ธรรมชาติของทัศนคติ
ทัศนคติเกิดจากการเรียนรู้และประสบการณ์ของบุคคล 
ทัศนคติเกิดจากความรู้สึกที่สะสมมานาน
ทัศนคติเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของบุคคลโดยทั่วไปได้
ทัศนคติสามารถถ่ายทอดออกไปสู่คนอื่น ๆ ได้
ทัศนคติเปลี่ยนแปลงได้
ลักษณะของทัศนคติ
ทัศนคติเชิงบวก - ลบ  ยิ่งสะสมประสบการณ์ในทางใดทางหนึ่งอย่างเต็มที่หรืออาจเกิดจากอคติมากๆ จะทำให้มีความเข้มข้นสูงมากเป็นทัศนคติเชิงบวกสุดหรือลบสุด ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงได้ยาก
เกิดจากความรู้ความเข้าใจ (Cognitive) ต่อสิ่งเร้าในทางที่ดีหรือไม่ดี หรือเฉย ๆ
                   คนเก่ง  (รู้ในทางดี)                         จะเกิดทัศนคติทางบวก
                   เป็นคนเฉย ๆ (รู้กลาง)                     จะไม่เกิดทัศนคติ
                   ชอบขโมย (รู้ในทางไม่ดี)                   จะเกิดทัศนคติในทางลบ
การแยกแยะเป็นส่วน  (Differentiation)  การรับรู้ต่อสิ่งเร้าอย่างละเอียดถี่ถ้วน โดยพิจารณา  องค์ประกอบย่อยแต่ละส่วน จะทำให้เกิดความเข้าใจอย่างละเอียดถี่ถ้วน จะก่อให้เกิดทัศนคติในทางใดทางหนึ่งได้ดีกว่า การรับรู้ที่คลุมเครือ หรือรับรู้รวมๆ
โดดเดี่ยว  (Isolation) ทัศนคติต่อสิ่งเร้าบางอย่าง อาจจะแตกต่างไปจากทัศนคติที่มีต่อสิ่งเร้านั้นโดยส่วนรวม เช่น เราไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์  แต่เราอาจจะเฉยๆ หรือชอบครูที่สอนคณิตศาสตร์ก็ได้  ถ้าครูคนนั้นสวย พูดจากอ่อนหวานหรือมีลักษณะบางอย่างที่เราชอบ
เข้มข้น  (Strength) ทัศนคติเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้  แต่ถ้าทัศนคติต่อสิ่งเร้าหรือเหตุการณ์ บางอย่างที่สะสมมานาน และลงรากลึกถาวร จะเปลี่ยนแปลงได้ยาก   ถ้าให้คนที่เคยชินกับระบบอาวุโสเคยออกแต่คำสั่ง หรือเข้มงวดกับระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ อย่างมากๆ มารับฟังความคิดของคนอายุต่ำกว่า หรือให้เด็ก ทำอะไรได้ตามใจชอบโดยไม่ตั้งกฎอะไรเลย จนกว่าเด็กจะรู้เองว่าควรจะปฏิบัติตนอย่างไรเมื่อยู่ในสถาบันแห่งใดแห่งหนึ่งนั้น เป็นเรื่องยากมาก

การสร้างและพัฒนาทัศนคติที่ดีต่อการเรียน
การสร้างทัศนคติที่ดีต่อโรงเรียนและวิชาต่าง ๆ อาจทำได้โดย
     ๑.๑  จัดประสบการณ์ที่นำความพอใจ นำความสนุกสนานมาให้แก่ผู้เรียน โดยการสอนวิชาต่างๆ ให้เด็กเกิดความรู้ ความเข้าใจอย่างแท้จริง
     ๑.๒  ครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดี ในเรื่องต่าง ๆ เช่นความประพฤติ ความมีวินัยในตนเองและวินัยทางสังคม ให้ความอบอุ่นและพยายามทำความเข้าใจและรับรู้ปัญหาส่วนตัวของเด็ก เด็กจะเลียนแบบทัศนคติ  ต่อบางสิ่งบางอย่างไปจากครูได้
     ๑.๓  จัดสภาพแวดล้อมต่างๆ ในโรงเรียน ให้น่าสนใจ เช่น  สภาพของห้อง บรรยากาศในห้องเรียน มีการจัดห้องสมุดศูนย์การเรียน ห้องอ่านหนังสือ มุมวิทยาศาสตร์ และห้องชวนคิดเป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงแก้ไขทัศนคติที่ไม่ดีต่อการเรียน  ต่อวิชาเรียนตลอดจนกฎข้อบังคับต่างๆ       อาจทำได้โดยค้นให้พบสาเหตุที่ทำให้เด็กมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อบางสิ่งบางอย่าง แล้วจึงหาทางแก้ไขซึ่งอาจทำได้โดย
     ๒.๑  ให้การแนะแนว หรือให้คำแนะนำที่ถูกต้อง ถ้ามีทัศนคติที่ไม่ดีต่อวิชาเรียน อาจจะพูดถึงประโยชน์ที่ได้จากการเรียน พูดถึงวิธีสอน ว่าแต่ละฝ่ายทั้งครูและนักเรียนต้องร่วมมือกัน
     ๒.๒  อาจใช้พลังกลุ่มช่วยในการเปลี่ยนแปลงนิสัยไม่ดีบางอย่าง เช่น การยกพวกตีกัน การนัดหยุดเรียน หรือนัดกันไม่ส่งงาน โดยการใช้พลังกลุ่มส่วนมากกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง เช่น การพัฒนา ช่วยกันตั้งชมรมบำเพ็ญประโยชน์ ชมรมดนตรีและการละคร หรือกลุ่มออกค่ายอาสาพัฒนาแล้วนำผลงานของแต่ละกลุ่ม  มาเสนอ ในที่ประชุมให้เด็กที่เราต้องการจะเปลี่ยนนิสัยบางอย่างดูเป็นแบบอย่างจะช่วยแก้ไขได้
     ๒.๓  มีการให้แรงเสริมประเภทต่าง ๆ โดยเลือกหาแรงเสริมที่ตรงกับความต้องการของเด็กจากการแข่งขันกลุ่มสีต่าง ๆ การเลือกเด็กบางคนเข้าทำงานบางอย่างของวิทยาลัย หรือของหน่วยงานอื่นๆ
     ๒.๔  การใช้บทบาทสมมติ (Role playing)  ช่วยแก้ไขพฤติกรรมบางอย่าง อาจจะเลือกคนที่มีปัญหามาเล่นบทบาทสมมติด้วยตนเอง ถ้าเขาประสบผลสำเร็จในการแสดงก็จะมีผลต่อความคิด ความรู้สึก และการกระทำมองเขาด้วยในภายหลัง
     ๒.๕  ใช้วิธีการเชื่อมโยง สิ่งเร้าตั้งแต่ ๒ อย่างขึ้นไป ตามทฤษฎีการวางเงื่อนไขของ พาฟลอฟ (Pavlovis Classical Conditioning)  เช่น การพูดถึงโทษของยาเสพติดอาจทำได้โดย

.


น่ารังเกียจ


ภาพ
 





ยาเสพติด
                     





.
.


น่ากลัวอันตราย

สภาพคนติดยาจริง


ยาเสพติด

 





ความสนใจกับการเรียนรู้
ความสนใจ (Interest) เป็นส่วนหนึ่งของทัศนคติ กล่าวคือเป็นความรู้สึกในทางที่ดีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งจะทำให้แนวโน้มของพฤติกรรมเป็นในทางที่ดี เช่น ถ้าเด็กสนใจคณิตศาสตร์ จะเข้าเรียนทุกชั่วโมงและใช้เวลาส่วนใหญ่ไปเพื่อวิชานี้ มากกว่าอย่างอื่นความสนใจของบุคคลจะแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการ ความถนัด รวมทั้งสภาพแวดล้อมภายนอกเป็นสำคัญ
การสร้างความสนใจให้กับผู้เรียน
ต้องศึกษาถึงความต้องการของผู้เรียนโดยส่วนใหญ่ว่าเป็นอย่างไร จะได้จัดบทเรียน สภาพห้องเรียน สื่อการเรียนต่างๆ ให้ตรงกับความต้องการของเขา
ก่อนจะสอนเรื่องใดควรสำรวจความสามารถพื้นฐานตลอดจนความถนัดของผู้เรียนก่อน  เพื่อจัดสิ่งเร้าให้ตรงกับที่เขาต้องการ
จัดสภาพห้องเรียนให้น่าสนใจ ตั้งคำถามยั่วยุและท้าทายความสามารถของนักเรียน ในขณะเดียวกันก็กระตุ้นให้ผู้เรียนตื่นตัวกับสภาพการณ์บางอย่างที่เป็นปัญหา ที่แปลกไปจากเดิม เป็นต้น
ให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในงานที่ทำบ้าง เพื่อเป็นกำลังใจให้เขาทำงานระดับสูงต่อไป โดยเลือกงานที่เหมาะกับความสามารถและความถนัดของผู้เรียน จะช่วยให้เขาสนใจงานที่มอบหมายให้ทำ
ชี้ทางหรือรายงานผลความก้าวหน้าของผู้เรียนให้ทราบเป็นระยะๆ ให้เขาได้ทราบว่าเขาก้าวมาถึงไหนแล้ว อีกไม่กี่ขั้นก็จะถึงจุดหมายปลายทางที่ต้องการแล้ว จะทำให้เขาตั้งใจทำเพื่อผลสำเร็จของตัวเขาเอง
ฝึกให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตัวเขาบ้าง จากการศึกษานอกสถานที่ จากการสังเกต หรือจากการสัมภาษณ์ สอบถามจากแหล่งวิชาการต่าง ๆ ตลอดจนการทดลองค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง ด้วยวิธีการเรียนแบบสืบสวนสอบสวน หรือให้นักเรียนฝึกเป็นผู้นำและผู้ตามได้ในโรงเรียน หรือนอกห้องเรียน โดยให้นักเรียนเป็นผู้ดำเนินงานเกี่ยวกับการเรียนการสอนและการฝึกวินัยด้วยตัวของนักเรียนเอง
ความหมายของจิตวิทยาการเรียนรู้
             จิตวิทยา ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Psychology   มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ Phyche แปลว่า วิญญาณ กับ Logos แปลว่า การศึกษา   ตามรูปศัพท์ จิตวิทยาจึงแปลว่า วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิญญาณ  แต่ในปัจจุบันี้ จิตวิทยาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไป ความหมายของจิตวิทยาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย นั่นคือ จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษากี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์
             การเรียนรู้  (Learning) ตามความหมายทางจิตวิทยา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือการมีประสบการณ์  พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงที่ไม่จัดว่าเกิดจากการเรียนรู้  ได้แก่ ฤติกรรมที่เป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราว และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เนื่องมาจากวุฒิภาวะ
จากความหมายดังกล่าว พฤติกรรมของบุคคลที่เกิดจากการ เรียนรู้จะต้องมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
             1. พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจะต้องเปลี่ยนไปอย่างค่อนข้างถาวร จึงจะถือว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้น หากเป็นการ เปลี่ยนแปลงชั่วคราวก็ยังไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้ เช่น นักศึกษาพยายามเรียนรู้การออกเสียงภาษาต่างประเทศ บางคำ หากนักศึกษาออกเสียงได้ถูกต้องเพียงครั้งหนึ่ง แต่ไม่สามารถออกเสียงซ้ำให้ถูกต้องได้อีก ก็ไม่นับว่า นักศึกษาเกิดการเรียนรู้การออกเสียงภาษาต่างประเทศ ดังนั้นจะถือว่านักศึกษาเกิดการเรียนรู้ก็ต่อเมื่อออก เสียงคำ ดังกล่าวได้ถูกต้องหลายครั้ง ซึ่งก็คือเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรนั่นเอง
             อย่างไรก็ดี ยังมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแต่เปลี่ยนแปลงชั่วคราวอัน เนื่องมาจากการที่ ร่างกายได้รับสารเคมี ยาบางชนิด หรือเกิดจากความเหนื่อยล้า เจ็บป่วยลักษณะดังกล่าวไม่ถือว่าพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปนั้นเกิดจากการเรียนรู้
             2. พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจะต้องเกิดจากการฝึกฝน หรือเคยมีประสบการณ์นั้น ๆ มาก่อน เช่น ความ สามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ ต้องได้รับการฝึกฝน และถ้าสามารถใช้เป็นแสดงว่าเกิดการเรียนรู้ หรือความ สามารถในการขับรถ ซึ่งไม่มีใครขับรถเป็นมาแต่กำเนิดต้องได้รับการฝึกฝน หรือมีประสบการณ์ จึงจะขับรถเป็น ในประเด็นนี้มีพฤติกรรมบางอย่างที่เกิดขึ้นโดยที่เราไม่ต้องฝึกฝนหรือมีประสบการณ์ ได้แก่ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเจริญเติบโต หรือการมีวุฒิภาวะ และพฤติกรรมที่เกิดจากแนวโน้มการตอบสนองของเผ่าพันธุ์ (โบเวอร์ และอัลการ์ด 1987, อ้างถึงใน ธีระพร อุวรรณโน,2532:285) ขอยกตัวอย่างแต่ละด้านดังนี้     
             ในด้านกระบวนการเจริญเติบโต หรือการมีวุฒิภาวะ ได้แก่ การที่เด็ก 2 ขวบสามารถเดินได้เอง ขณะที่ เด็ก 6 เดือน ไม่สามารถเดินได้ฉะนั้นการเดินจึงไม่จัดเป็นการเรียนรู้แต่เกิดเพราะมีวุฒิภาวะ เป็นต้น ส่วนใน ด้านแนวโน้มการตอบสนองของเผ่าพันธุ์โบเวอร์   และฮิลการ์ด    ใช้ในความหมาย ที่หมายถึงปฏิกริยาสะท้อน (Reflex) เช่น กระพริบตาเมื่อฝุ่นเข้าตา ชักมือหนีเมื่อโดนของร้อน พฤติกรรมเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้ แต่เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติของเผ่าพันธุ์มนุษย์
             การเรียนรู้ของคนเรา เกิดจากการไม่รู้ไปสู่การเรียนรู้ มี 5 ขั้นตอนดังที่ กฤษณา ศักดิ์ศรี (2530) กล่าวไว้ดังนี้
             "…การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อสิ่งเร้า (stimulus) มาเร้าอินทรีย์ (organism) ประสาทก็ตื่นตัว เกิดการรับสัมผัส หรือเพทนาการ (sensation) ด้วยประสาททั้ง 5 แล้วส่งกระแสสัมผัสไปยังระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดการแปลความหมายขึ้นโดยอาศัยประสบการณ์เดิมและอื่น ๆ เรียกว่า สัญชาน หรือการรับรู้ (perception) เมื่อแปลความหมายแล้ว ก็จะมีการสรุปผลของการรับรู้เป็นความคิดรวบยอดเรียกว่า เกิดสังกัป (conception) แล้วมีปฏิกิริยาตอบสนอง (response) อย่างหนึ่งอย่างใดต่อสิ่งเร้าตามที่รับรู้เป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤิตกรรม แสดงว่าการเรียนรู้ได้เกิดขึ้นแล้วประเมินผลที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้แล้ว…"
             การเรียนรู้เป็นพื้นฐานของการดำเนินชีวิต มนุษย์มีการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนตาย จึงมีคำกล่าวเสมอว่า "No one too old to learn"หรือ ไม่มีใครแก่เกินที่จะเรียน การเรียนรู้จะช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้เป็นอย่างดี
ธรรมชาติของการเรียนรู้
ธรรมชาติของการเรียนรู้ มี 4 ขั้นตอน คือ
             1.   ความต้องการของผู้เรียน (Want) คือ ผู้เรียนอยากทราบอะไร เมื่อผู้เรียนมีความต้องการอยากรู้อยากเห็นในสิ่งใดก็ตาม จะเป็นสิ่งที่ยั่วยุให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้
             2.   สิ่งเร้าที่น่าสนใจ (Stimulus) ก่อนที่จะเรียนรู้ได้ จะต้องมีสิ่งเร้าที่น่าสนใจ และน่าสัมผัสสำหรับมนุษย์ ทำให้มนุษย์ดิ้นรนขวนขวาย และใฝ่ใจที่จะเรียนรู้ในสิ่งที่น่าสนใจนั้น ๆ
             3.   การตอบสนอง (Response) เมื่อมีสิ่งเร้าที่น่าสนใจและน่าสัมผัส มนุษย์จะทำการสัมผัสโดยใช้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ เช่น ตาดู หูฟัง ลิ้นชิม จมูกดม ผิวหนังสัมผัส และสัมผัสด้วยใจ เป็นต้น ทำให้มีการแปลความหมายจากการสัมผัสสิ่งเร้า เป็นการรับรู้ จำได้ ประสานความรู้เข้าด้วยกัน มีการเปรียบเทียบ และคิดอย่างมีเหตุผล
             4.  การได้รับรางวัล (Reward) ภายหลังจากการตอบสนอง มนุษย์อาจเกิดความพึงพอใจ ซึ่งเป็นกำไรชีวิตอย่างหนึ่ง จะได้นำไปพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น การได้เรียนรู้ ในวิชาชีพชั้นสูง จนสามารถออกไปประกอบอาชีพชั้นสูง (Professional) ได้ นอกจากจะได้รับรางวัลทางเศรษฐกิจเป็นเงินตราแล้ว ยังจะได้รับเกียรติยศจากสังคมเป็นศักดิ์ศรี และความภาคภูมิใจทางสังคมได้ประการหนึ่งด้วย 
ลำดับขั้นของการเรียนรู้
             ในกระบวนการเรียนรู้ของคนเรานั้น จะประกอบด้วยลำดับขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญ 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ (1) ประสบการณ์ (2) ความเข้าใจ และ (3) ความนึกคิด

             1.   ประสบการณ์ (experiences) ในบุคคลปกติทุกคนจะมีประสาทรับรู้อยู่ด้วยกันทั้งนั้น ส่วนใหญ่ที่เป็นที่เข้าใจก็คือ ประสาทสัมผัสทั้งห้า ซึ่งได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง ประสาทรับรู้เหล่านี้จะเป็นเสมือนช่องประตูที่จะให้บุคคลได้รับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ ถ้าไม่มีประสาทรับรู้เหล่านี้แล้ว บุคคลจะไม่มีโอกาสรับรู้หรือมีประสบการณ์ใด ๆ เลย ซึ่งก็เท่ากับเขาไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใด ๆ ได้ด้วยประสบการณ์ต่าง ๆ ที่บุคคลได้รับนั้นย่อมจะแตกต่างกัน บางชนิดก็เป็นประสบการณ์ตรง บางชนิดเป็นประสบการณ์แทน บางชนิดเป็นประสบการณ์รูปธรรม และบางชนิดเป็นประสบการณ์นามธรรม หรือเป็นสัญลักษณ์

             2.   ความเข้าใจ (understanding) หลังจากบุคคลได้รับประสบการณ์แล้ว ขั้นต่อไปก็คือ ตีความหมายหรือสร้างมโนมติ (concept) ในประสบการณ์นั้น กระบวนการนี้เกิดขึ้นในสมองหรือจิตของบุคคล เพราะสมองจะเกิดสัญญาณ (percept) และมีความทรงจำ (retain) ขึ้น ซึ่งเราเรียกกระบวนการนี้ว่า "ความเข้าใจ"

             ในการเรียนรู้นั้น บุคคลจะเข้าใจประสบการณ์ที่เขาประสบได้ก็ต่อเมื่อเขาสามารถจัดระเบียบ (organize) วิเคราะห์ (analyze) และสังเคราะห์ (synthesis) ประสบการณ์ต่าง ๆ จนกระทั่งหาความหมายอันแท้จริงของประสบการณ์นั้นได้

             3   ความนึกคิด (thinking) ความนึกคิดถือว่าเป็นขั้นสุดท้ายของการเรียนรู้ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในสมอง Crow (1948) ได้กล่าวว่า ความนึกคิดที่มีประสิทธิภาพนั้น ต้องเป็นความนึกคิดที่สามารถจัดระเบียบ (organize) ประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับให้เข้ากันได้ สามารถที่จะค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ทั้งเก่าและใหม่ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้เกิดบูรณาการการเรียนรู้อย่างแท้จริง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น